ความก้าวหน้าด้านการแพทย์ยุคไอซีที
ความสามารถของเทคโนโลยีเครือข่าย
ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถทำการผ่าตัดจากระยะไกล (telerobotic operation)
เพื่อให้บริการด้านสาธารณะสุข เข้าถึงทุกท้องถิ่นในประเทศ
จากการที่ประเทศแคนาดา
ได้ทำการผ่านตัดจากระยะไกลแบบข้ามประเทศ ภายใต้โครงการสาธารณะสุขทางไกล
(telemedicine) ได้เป็นผลสำเร็จเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์
ที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน โดยมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์
(Robotics) ที่นำมาผสมผสานกัน เพื่อบริการด้านการแพทย์ที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
ในการผ่าตัดนั้นความเที่ยงตรงและความนิ่งของศัลยแพทย์นั้น
นับเป็นหัวใจสำคัญในการทำการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ในปัจจุบันนี้
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์
ที่ได้ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายประกอบกับหุ่นยนต์
เข้ามาเพื่อที่จะช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2546
ที่ผ่านมานี้ทางโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟในประเทศแคนาดา
ได้มีการนำเทคโนโลยีการผ่าตัดจากระยะไกลมาใช้ สำหรับการผ่านตัดแบบเปิดแผลขนาดเล็ก
(minimal-access surgery) ที่คณะศัลยแพทย์
อยู่ห่างจากโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดไกลถึง 250 ไมล์
และเป็นครั้งแรกสำหรับการผ่าตัดจากระยะไกลในประเทศแคนาดา
ซึ่งต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้านการแพทย์ของโลก
กับความสำเร็จและความก้าวหน้าด้านสาธารณะสุข
โดยการผ่าตัดในครั้งนั้นศัลยแพทย์ต้องควบคุมกลไก
ของอุปกรณ์มือกลสามชิ้น ที่จำลองการทำงานจากการขยับของนิ้วมือศัลยแพทย์ในการผ่าตัด
โดยด้านหน้าของแผงควบคุมนั้น จะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของมือกลไปทางซ้ายและขวา
ตลอดจนควบคุมระบบกล้องที่จะให้ภาพที่ชัดเจนในระหว่างการผ่าตัด และตลอดระยะเวลา 3-4
เดือนที่ผ่านมา ก็ได้มีการผ่าตัดจากระยะไกลด้วยหุ่นยนต์นี้
ในประเทศแคนาดาแล้วอีกหลายต่อหลายครั้ง และทางโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ
ก็มีแผนที่จะขยายการผ่าตัดจากระยะไกลนี้ออกไปสำหรับอีก 2 โรงพยาบาล
ในพื้นที่ห่างไกลภายในสิ้นปี 2546 นี้
สำหรับเบื้องหลังความสำเร็จของการผ่านตัดจากระยะไกลนั้น
โซลูชันด้านระบบเครือข่ายที่มีความเสถียรและปลอดภัยนั้น
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยในกรณีโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟนี้
ได้ใช้บริการด้านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน หรือ Virtual Private Network, VPN
จากบริษัทเบลล์แคนาดา ซึ่งนับว่าเป็นบริการการสื่อสารโทรคมนาคม
ที่มีความปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างสำนักสาขาต่างๆ ขององค์กร
นอกจากนี้ความเสถียรและระบบสำรองของการสื่อสาร
ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากในการทำการผ่าตัดจากระยะไกลนี้
ดังนั้นคุณภาพของระบบที่จะมาใช้กับเทคโนโลยีด้านการแพทย์นั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสามารถควบคุมคุณภาพการให้บริการ
ผ่านโครงข่ายหลักของเบลล์แคนาดาได้โดยในกรณีนี้ ได้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า
Multiprotocol Label Switch หรือ MPLS เพื่อที่จะรับประกันความเป็นส่วนตัว
ของการเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาล ที่วิ่งอยู่บนโครงข่ายหลักของเบลล์แคนาดา
ซึ่งเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
อีกทั้งยังสามารถที่จะรองรับการสลับเส้นทางในการส่งข้อมูล
ในกรณีที่การเชื่อมต่อเกิดติดขัดขึ้น
และจากการผสานกันอย่างลงตัวของการบริการด้านโครงข่ายคุณภาพสูง
สำหรับงานด้านสาธารณะสุขพร้อมกับแอพพิเคชันด้านการควบคุมกลไกของแขนกล
จากระยะไกลเข้าด้วยกัน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยีด้านไอพี ในการที่จะให้บริการสาธารณะสุขทางไกล
ที่ระยะทางไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้านการแพทย์
สำหรับยุคศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้
สำหรับการใช้งานเทคโนโลยีในด้านการรักษาพยาบาล
และการสาธารณะสุขในบ้านเรา ก็ได้มีการเติบโต และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ก็ได้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์
เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลประวัติคนไข้ ไปจนถึงการจ่ายยาต่างๆ
ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และคล่องตัวอย่างมาก โดยที่แพทย์ผู้ตรวจรักษา
สามารถเข้าถึงข้อมูลคนไข้แบบออนไลน์ผ่านทางคอมพิวเตอร์
ตลอดจนสามารถตรวจสอบประวัติการใช้ยาของคนไข้ได้อีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
ในการที่จะทำให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ และการรักษาพยาบาล
ที่จะเปิดรับชาวต่างประเทศ เข้ามารักษาตัวในประเทศไทย
ซึ่งจะเป็นการนำเงินตราต่างประเทศ เข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจของไทยอีกทางหนึ่ง
และยังส่งผลถึงการท่องเที่ยวที่หน่วยงานหลายฝ่าย กำลังดำเนินงานในการรณรงค์
ให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าดูจากเม็ดเงินแล้ว
ถือว่าการยกระดับการบริการด้านการแพทย์
และสาธารณะสุขให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
และสร้างให้ประเทศไทยเราเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์นั้น
ควรถือเป็นกลยุทธ์หลักอันหนึ่ง ที่ภาครัฐและเอกชน
ต้องช่วยกันสำหรับก้าวที่ยิ่งใหญ่ต่อไป
ที่มา:http://www.cisco.com/web/TH/technology/telerobotic.html
วันที่ 26 มีนาคม 2553
|